เสียงเจริญมนต์กับการรักษาโรค


ดร.ทิม จอห์นตัน กับ ดร.ริชาร์ด เกอร์เบอร์ สองชาวอเมริกัน ได้เฝ้าติดตามและศึกษาเรื่องมานาน เขียนในงานวิจัย "การเปล่งเสียงหรือการสวดมนต์จะช่วยบำบัด รักษาโรคร้ายได้ ซึ่งหมายรวมไปถึงการใช้ดนตรีบำบัด (อีกศาสตร์ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง) โดยมีปัจจัยสำคัญมาจาก พลังเสียงทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือน เสียงสวดมนต์จะไปช่วยกระตุ้นอวัยวะภายในหลายส่วน ได้แก่ ตับ ไต ปอด ม้าม หัวใจ ฯลฯ และอักขระทุกตัวมีความสำคัญยิ่ง ในการเปล่ง แม้ผู้สวดจะไม่ได้พิจารณาความหมาย หรือคำแปลก็ตาม" แต่ทั้งนี้ต้องออกเสียงอย่างถูกต้องตรงตามเสียงสะกดของการออกเสียง เช่น ร.เรือ ล.ลิง หรืออักษรควบกล้ำ

เสียงกระตุ้นอวัยวะ

ผศ.จุฑาทิพย์ อุมะวิชนี หัวหน้าภาควิชาปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวกับ "ผู้จัดการรายสัปดาห์" ว่า แม้เรื่องนี้จะยังเป็นเพียงงานวิจัย แต่มีหลายตัวอย่างที่เกิดขึ้นและเห็นผลจริง ในทางปฏิบัติ

"พระอาจารย์ สิงห์ทน นราสโภ (อดีต ดร.สิงห์ทน คำซาว อาจารย์ภาควิชา ปรัชญา ม.เชียงใหม่) ซึ่งเคยศึกษาเรื่องโยคะ และพลังงานต่างๆ พบว่า ในร่างกายมนุษย์ แต่ละคนจะมีพลังงานอยู่ในรูปต่างๆ พลังนี้เกิดจากก้นกบ ผ่านไปยังกระดูกสันหลังและจนถึงศีรษะ แต่พลังที่มีอยู่ในส่วนนี้มนุษย์ไม่เคยที่จะเรียนรู้ หรือสามารถที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตอย่างจริงจัง"

ในการค้นพบครั้งนี้ของ พระอาจารย์ ดร.สิงห์ทน ยังระบุด้วยว่า การสวดมนต์หรือการเปล่งเสียงดังต่อไปนี้ จะมีผลต่อระบบในร่างกายของคนเรา และช่วยกระตุ้นอวัยวะส่วนนั้นๆ ให้กลับมาทำงานได้อย่างปกติ และมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม เช่น การเปล่งเสียง คำว่า "โอ" จะกระตุ้นระบบหัวใจ "อือ" จะกระตุ้นระบบปอด

"อูว" จะกระตุ้นอวัยวะตับ "อ(ออ) ว(วอ) ส(สอ) ขา หา ยะ" จะกระตุ้นระบบไต และ "อี" จะกระตุ้นระบบการขับถ่าย เช่นเด็กเล็ก ปัสสาวะมักจะบอกว่าฉี่ๆ (ดูตารางประกอบ)

การเปล่งเสียงในภาษาบาลียังก่อให้เกิดพลังสั่นสะเทือนขึ้น ในแง่ของการฝึกโยคะ สามารถกระตุ้นศูนย์รวมพลังทั้ง 7 ในตัวคนเรา ซึ่งไม่ได้หมายถึงเฉพาะภาษาบาลีที่เก่าแก่เท่านั้น ยังรวมไปถึงภาษาเก่าแก่อื่น ก็มีพลังเช่นกัน

หรืออย่างคำว่า "โอม" ในภาษาทิเบต ถือว่าเป็นคำศักดิ์สิทธิ์ เมื่อเปล่งเสียงออกจากปาก ไม่ว่าจะเสียงสูง หรือต่ำ ผู้พูดจะรู้สึงถึงพลังสั่นสะเทือนไปตามจุดสำคัญของร่างกาย ตั้งแต่ก้นกบจนถึงลำคอและศีรษะ (โอม มาจากคำว่า อุ อะ มะ อุ คืออุตตมธรรม อะคืออรหันตสัมมาสัมพุทธะ มะคือ มหาสังฆะ)

นอกจากนี้ ในหนังสือ Vibration Medicine ของ ดร.ริชาร์ด เกอร์เบอร์ กล่าวถึงพลังสั่นสะเทือนที่มนุษย์ได้จากการท่องมนตราและคาถา ว่าเป็นยาวิเศษรักษาโรคได้ "โรคภัยที่ส่งผลต่อร่างกายในส่วนใดๆ หากได้รับพลังสั่นสะเทือนถือว่าเป็นการเยียวยาต่ออวัยวะนั้นๆ"

ขณะที่ ดร.แอนดรู ไวลด์ Spontaneous Healine ร่วมทำวิจัยพร้อมกับ ดร.เก เฮนดริก ผู้เขียนเรื่อง Conscious Breathing ได้ข้อสรุปตรงกันว่า ร่างกายเรามีแนวโน้มที่จะสามารถรักษาตัวเองได้ หากรู้จักใช้พลังกระตุ้นอวัยวะที่มีปัญหาในร่างกาย

เผยบทสวดมนต์รักษา

ผศ.จุฑาทิพย์ กล่าวอีกว่า สำหรับการสร้างสุขภาวะที่ยังประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การป้องกัน การบำบัดรักษา หรือการบรรเทาโรคภัยไข้เจ็บนั้น ในด้านเนื้อหาและข้อมูลที่ใส่เข้าไปในจิตใต้สำนึกของคนเราเป็นอีกสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง บทสวดมนต์เป็นตัวเชื่อม และสื่อสำคัญ ที่จะส่งผลต่อสภาวะร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะบทสรรเสริญ และสัจธรรมต่างๆ

บทสวดมนต์ที่มีกล่าวถึง ได้แก่ ชัยมงคลคาถา (บทพาหุง) หรือบางบท คือ บทที่สรรเสริญพระอรหันต์สาวกทั้งหลาย บทมงคลสูตร หรือการท่องมนต์ที่กล่าวถึงสัจธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ค้นพบ อาทิ อนันตะลักษณะสูตร ที่อธิบายถึงไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) เพื่อการปล่อยวาง หรือการสวดพระปริตรธรรม อาทิ เมตตปริตร ขันธปริตร โมรปริตร ธารณปริตร หรือโพชณงคปริตร คาถาส่วนใหญ่ที่แต่งขึ้นเพื่อบูชายกย่องความดีงามของผู้ที่สมควรบูชา และบทรัตนสูตร

ฟังธรรม เสียงธรรม เพลงธรรมะ นิทานธรรมะ 

สยบ "เอดส์-หัวใจ"

น.พ.วิธาน ฐานะวุฑฒ์ แพทย์ผู้ดำเนินโครงการหัวใจใหม่ ชีวิตใหม่ จ.เชียงรายเป็นแพทย์อีกราย ที่ติดตามงานด้านนี้ ระบุว่า ในงานวิจัยพูดถึงรูปแบบการทดลองแบ่งเป็นกลุ่มๆ คือกลุ่มควบคุมกลุ่มทดลอง กับกลุ่มปกติ จำนวน 393 คน ซึ่งคนป่วยด้วยอาการโรคหัวใจ กลุ่มแบ่งที่ให้การรักษาปกติธรรม กับกลุ่มที่สอดแทรกวิธีในการรักษาโดยนำบทสวดมนต์ ทั้งมีผู้สวดให้หรือสวดเองก็ตาม เข้ามาอยู่ในขั้นตอน สิ่งที่พบคือ กลุ่มที่มีการสวดมนต์อาการของโรคหัวใจดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยประเภทเดียวกัน แต่ได้รับการรักษาเพียงยาเท่านั้น

"โรคเอดส์เป็นอีกโรคที่มีการแบ่งกลุ่มทดลอง แพทย์ทำการวิจัยพบว่า อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ผ่านการรักษาด้วยการสวดมนต์ มีตัวเลขการเสียชีวิตลดลงกว่าครึ่งของผู้ที่รักษาอาการตามปกติ" แต่สำหรับในประเทศไทยวันนี้ ต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัวและมองไม่เห็น

"ยอมรับว่า บทสวด หรือการสวดมนต์ ไม่ใช่เป็นเพียงปัจจัยเดียวที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือส่งผลต่อสุขภาพกาย ใจ แต่ต้องพิจารณาโดยองค์รวม เนื่องจากทุกสิ่งมีความเกี่ยวโยงกัน เรื่องลักษณะนี้อธิบายได้ในแง่ของวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ไสยศาสตร์ ตามที่หลายฝ่ายเข้าใจ เพราะไม่มีสูตรตายตัวที่จะเกิดเหมือนกันกับทุกคน ขึ้นอยู่กับผู้นั้น (ป่วย) และพื้นฐานของคนนั้นๆ ประกอบ ถือเป็นหลักการตามวิทยาศาสตร์แนวใหม่ คือการปฏิวัติทางจิตที่มีความสำคัญมาก แรงที่เข้ามากระทบแล้วสิ่งผลต่อสิ่งนั้นๆ" น.พ.วิธาน กล่าว

ทุกสัปดาห์ ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดสวดมนต์ และทำกิจกรรมด้านการฝึกสมาธิ โดยมีคณาจารย์และนิสิตเข้าร่วม ที่หอไตรปิฎก หรือการรวมตัวกันของกลุ่มจิตวิวัฒน์ ซึ่งเป็นกลุ่มนักวิชาการ และนักกิจกรรมสังคมที่มีเป้าหมายส่งเสริมสุขภาวะกาย-ใจ ใช้หลักธรรมะเป็นจุดศูนย์กลาง มี น.พ. ประเวศ วะสี และคณาจารย์ต่างๆ ร่วมหารือ และกำหนดแนวทางเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในการสร้างสุขภาวะที่ดีทุกเดือน

ที่มา : 
http://board.palungjit.com